วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หน่วยความจำ (memory)

หน่วยความจำ (memory)
     หน่วยความจำ (memory) เป็นอุปกรณ์ภายในเครื่องที่มีความสำคัญอย่างมากที่ใช้สำหรับพักข้อมูลและคำสั่งต่างที่ใช้ในการประมวลผลให้กับซีพียู     สำหรับหน่วยความจำทั่วไปนั้จะแบ่งเป็น  2 ประเภทดังต่อไปนี้
หน่วยความจำหลัก
     เป็นหน่วยความจำประภทที่จะต้องทำงานร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลาถ้าหากไม่มีหน่วยความจำส่วนนี้ซีพียูจะไม่มีที่เก็บรวบรวมข้อมูลและคำสั่งต่างๆ โดยหน่วยความจำหลังยังแบ่งได้อีก 2ประเภท
     หน่วยความจำ Rom (read only memory)   เป็นหน่วยความจำ  ซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญได้อย่างถาวรแม้ไม่มีไฟหล่อเลี้ยงวงจร
     หน่วยความจำ Rom (random  Access  Memory)    คือหน่วยความจำหลักที่ทำงานร่วมกับซีพีย฿อยู่ตลอดเวลา  จึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของเครื่องมากเช่นกัน
     หน่วยความจำสำรอง
เป็นหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บสสำรองข้อมูลต่างๆเอาไว้หน่วยความจำประเภทนี้มีหลายชนิดเช่น ฮาร์ดดิสก์   ฟล็อปปี้ดิสก์  ซีดีรอมแฟลช   เมโมรี  


แรม (RAM)
     แรมหรือหน่วยความจำหลักซึ่งมีการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม   แรมจะทำงานร่วมกับซีพียูโดยตรง และถูกใช้เป็นที่พักข้อมูลหรือคำสังจากการประมวลผลของตัวซีพียู จะเห็นได้ว่าคอวพิวเตอร์ประสิทธิภาพดีเพียงใดนอกจากความเร็วของซีพียูแล้วแรมมีส่วนสำคัญอย่างยิง


ประเถทของหน่วยความจำหลัก
      หน่วยความจำหลังสำหรับเก็บข้อมูล ได้มีการพัฒนาหลายรูปแบบแต่สามารถแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 ประเภทคือ
   * SRAM (static ram) ทำจากทราบซิสเตอร์กินไฟมากมีความเร็วสูงแต่มีราคาแพงมาก
   * DRAM (dynamic ram) เป็นหน่วยความจำที่กินไฟน้อย และก็มีราคาถูกกว่า SRAM

ชนิดของแรม
       หน่วยความจำหรือแรมที่ใช้งานกันในปัจจุบันก็คือ DRAM นั่นเอง แต่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและมีการผลิตขึ้นมาใช้งานหลายชนิดสำหรับแรมที่ยังคงมีใช้งานกันในปัจจุบันนี้ได้แก่
แรมชนิด SDRAM เป็นหน่วนความจำแบบแผง ที่มีสัญญาณ168 Pin ใช้เสียบกับซ้อกเก็ตแบบ การเรียกชื่อแรม 66, PC-100 และ PC-133หมายความจำแรมชนิดนี้มีความเร็ว 66,100 และ 133 mhz ตามที่ลำดับเนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่หันไปผลิตแรมชนิด DD SDRAM และ DDR2 ซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงและได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุดแทน


ค่าหน่วยเวลาของแรม
     การทำงานแรมจะต้องส่งข้อมูลในตำแหน่งแถวไปก่อนแล้วจึงจะส่งข้อมูลในตำแหน่งหลักแรมที่มี cl สูงจะทำงานได้ช้ากกว่าแรมที่ทีค่า cl ต่ำ

การตรวจดูชนิดของแรม
      โดยทั่วไปบนแผงแรม มักจะมีสติกเกอร์ของผู้ผลิตแปะติดไว้ เพื่อบ่งบอกถึงยี่ห้อ ชนิด ขนาด ความเร็ว ค่า cl และค่าอื่นๆ เนื่องจากแรมที่มีความกว้างบัส 64 บิตหรือ 8 ไบต์ ไปต์จึงนำ 8 ไปหารจะได้ความเร็วแรมคือ 400 mhz

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ซีพียูสมองของคอมพิวเตอร์

                                              ซีพียูสมองของคอมพิวเตอร์
        ถ้าหากจะเปรียบไปแล้วซีพียูก็เหมือนกับเป็นมันสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเองเพราะการทำงานทั้งหมดได้แก่ การประมวลผลข้อมูลหรือตัวเลข ( บวก ลบ คูณ หาร ) และการทำคำสั่งต่างๆต้องอาศัยซีพียูทั้งสิ้นโดยมีหน่วยความจำหรือแรมของระบบเป็นที่พักที่พักข้อมูลสำหรับการคำนวณของซีพียู

   ความเร็วของซีพียู
ในอาดีตซีพียูมีความเร็วเพียงระดับ mhz แต่ในปัจจุบัยซีพียูมีความเร็วถึงระดับเกรือบ 4 ghz แล้ว จึงมีความเร็วสูงถึงเกลือบสี่พันล้านรอบต่อวินาที่

ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของชีพียู = ความเร็วบัส * ตัวคูณ
Noter
      ความสัมพันธ์ของหน่วยวัดความเร็วสัญญาณนาฬิกามีดังนี้
         1  Hz          =          1 รอบต่อวินาที่
         1  KHz       =          1000 รอบต่อวินาที่
         1  MHz      =          1000000 รอบต่อวินาที่
         1  GHz       =          1000000000 รอบต่อวินาที่

  ความเร็วบัส (Front side bus)
     ความเร็วระบบบัส FSB เป็นความเร็วของระบบ ที่ซีพียูใช้ในการติดต่อกับอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกเช่น แรม แต่เดิมความเร็วบัสจะมีเพียง 66 MHz เท่านั้นและได้มีการพัฒนาให้เร็วขึ้นเพื่อรองรับกับความเร็วของซีพียูที่เพิ่มขึ้นจนเป็น 100  133  166  200  233 และ 266 ในปัจจุบัน  
 
 หน่วยความจำแคช
     หน่วยความจำแคชที่อยู่ในตัวซีพียูจะทำให้ซีพียูทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น (แต่ก็จะใส่ไว้ได้มาก เพราะจะทำให้ซีพียูมีราคาแพง) โดยทั้วไปซีพียูจะมีหน่วยความจำแคชอยู่ 3 ระดับคือ
      - แคชระดับที่  1  (L3 cahe) แคชชนิดนี้จะจะฝังอยู่กับแกน หรือ Core ของตัวซีพียูเลย
      - แคชระดับที่  2  (L3 cahe) เป็นแคชที่อยู่บนตัวซีพียูเช่นเดียวกัน โดยมีขนาดใหญ่กว่าแคช L1
      - แคชระดับที่  3  (L3 cahe) เป็นแคชที่อยู่ภายนอกซีพียูซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนเมนบอร์บริเวณใกล้กับซีพียูมากที่สุด


                                                       รูปร่างลักษณะของซีพียู

ซีพียูแบบตลับ (cartrdge)
        ซีพียูชนิดนี้ตัวชีพียูจะบรรจุในตลับแบนยาวจึงทำให้มีขนาดใหญ่ และนำไปติดตั้งบนเมนบอร์ดด้วยการเสียบลงไปในสล็อต

ฃีพียูแบบตัวชิป (chip)
        เป็นซีพียูแบบปัจจุบันที่ยีงผลิตและจำหน่วยทั่วไปตามท้องตลาดโดยมีลักษณะเป็นตัวชิปสี่เหลี่ยมแบนๆ และมีขาสัญญาณอยู่ด้านล่างจำนวนมาก



วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบภายนอกคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ
1. ส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์

จอภาพ (Monitor)
เคส (Case)
คีย์บอร์ด (Keyboard)
เมาส์ (Mouse)
ลำโพง(Speaker)

2. ส่วนประกอบภายในของคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit : CPU)

หน่วยความจำ (Ram)
เมนบอร์ด (Mainboard)
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk )
ซีดีรอมไดรว์ (CD-ROM Drive)
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (FDD)
การ์ดแสดงผล (VGA-Card)
การ์ดเสียง (Sound-Card)

3. อุปกรณ์ต่อพ่วง
เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)

เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
โมเด็ม (Modem)
อุปกรณ์เครือข่าย ( Lan Card )
ไดรว์พกพา ( Handdy Drive )
กล้องดิจิตอล ( Digital Camera )
 

ส่วนประกอบภายนอกและ การใช้งาน
1. จอภาพ (Monitor)
จอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) ปกติแล้วจอภาพสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    • จอภาพสี เดียว (Monochrome Monitor)
จอภาพ ที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ
แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว
    • จอภาพหลาย สี (Color Monitor)
จอภาพ ที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 32 ล้านสี
การทำ งานของจอภาพ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน
ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน
ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง
จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ
เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
2. เคส (Case)
เคสของ คอมพิวเตอร์ถึงแม้จะมีคุณสมบัติเป็นเพียงเปลือกห่อหุ้มภายนอก
แต่ก็มีคุณสมบัติหลายอย่างไปตามชนิดของเคส เช่น เคสแบบ ATX จะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดีกว่า
เคสแบบ AT และมีคุณสมบัติในการสนับสนุนระบบเพาเวอร์ชัตดาวน์ ของระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ
ซึ่งเคสแบบ AT นั้นไม่มี   เคสจะมีสิ่งหนึ่งที่ติดตั้งควบคู่มากับเคสและก็มีความสำคัญพอควร
นั้นคือ เพาเวอร์ซัพพลาย ซึ่งเป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
ในการเลือกเคส ต้องคำนึงถึง ตัวเพาเวอร์ซัพพลายว่ามีกำลังในการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เพียงพอหรือไม่
และต้องเลือกใช้กับเมนบอร์ดให้เข้ากันด้วยคือเมนบอร์ดแบบไหนก็เคสแบบเดียว กัน
3. คีย์บอร์ด (Keyboard)
คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น มีลักษณะการทำงานคล้ายคีย์บอร์ดของเครื่องพิมพ์ดีด
แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะมี 101 คีย์ ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้อย
หรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
    • 101-key Enhanced keyboard
    • 104-key Windows keyboard
    • 82-key Apple standard keyboard
    • 108-key Apple Extended keyboard
    • Notebook & Palm keyboard
    • Typing keys กลุ่มปุ่มพิมพ์อักขระ
    • Numeric keypad กลุ่มปุ่มตัวเลข และเครื่องหมายคำนวณ
    • Function keys กลุ่มปุ่มฟังก์ชัน F1 - F12
    • Control keys กลุ่มปุ่มควบคุมต่างๆ เช่น ลูกศร, Ctrl, Alt เป็นต้น ปุ่มฟังก์ชัน และปุ่มควบคุม ทางบริษัท IBM
      (ค.ศ. 1986) ได้พัฒนาเพิ่มเข้ามาในคีย์บอร์ด เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากขึ้น
  • ปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ดมีจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ส่วนหลัก คือ
  • การทำงานของ คีย์บอร์ด
การทำงาน ของคีย์บอร์ด จะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า
เพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร
การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย Microprocessor ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ด
และสัญญาณต่างๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อ ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
    • 5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่ ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก
    • 6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก ปัจจุบันพบได้อย่างแพร่หลาย
    • 4-pin USB (Universal Serial Bus) connector เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่
    • internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer
    คีย์บอร์ดในอนาคต
ปัจจุบัน คีย์บอร์ด มีการพัฒนาไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะยุคโลกไร้พรมแดน ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์-เน็ต
บริษัทผู้ผลิตหลายบริษัท ได้ทำการผลิตคีย์บอร์ด ที่มีปุ่มฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบอีเมล์ และการเข้าสู่
อินเทอร์เน็ต ตลอดจนควบคุมระบบมัลติมีเดียต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้
4. เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์ รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด ได้แก่ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง ที่เรียกว่า เมาส์ (Mouse) หรือ
"หนูอิเล็กทรอนิกส์" เนื่องจากเป็น อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู
เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)"
ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
    พัฒนาการของเมาส์
เมาส์ พัฒนาขึ้นมาครั้งแรก ในศูนย์ค้นคว้าที่เมืองปาโลอัลโต้ ของบริษัทซีร็อก (Xerox Corporation's Palo
Alto Research Center) เมาส์มีหลายรูปร่าง หลายลักษณะ โดยเฉพาะเมาส์รุ่นใหม่ๆ จะออกแบบมาอย่างสวยงาม
โดยปกติปุ่มของเมาส์ จะมี 2 ปุ่มสำหรับเมาส์ของเครื่องพีซี และปุ่มเดียวสำหรับเครื่อง Macintosh
ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เมาส์ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยเพิ่มปุ่มเลื่อนตรงกลาง มีลักษณะคล้ายล้อ ดังรูป เรียกว่า
Intelli Mouse ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการเลื่อนจอภาพเพื่อดูข้อมูล นอกจากนี้ยังมีเมาส์ที่ทำงานด้วยสัญญาณแสง
ที่เรียกว่า Infrared หรือ Wireless Mouse
เมาส์ ทำงานอย่างไร ?
เมาส์ ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ
และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer"
(มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป
กลไก การทำงานของเมาส์ มี 3 ประเภท คือ Mechanical, Opto-Mechanical, Optical
    • Mechanical
เป็น กลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง ที่สามารถกลิ้งไปมาได้ เมื่อทำการเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ซึ่งลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง
โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อกับจานแปลรหัส (Encoder) บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส
ก็จะสร้างสัญญาณ บอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพต่อไป
    • Opto-Mechanical
กลไกการ ทำงานคล้าย Mechanical แต่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder จะมี LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง
และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
    • Optical
กลไก การทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน
อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำ
และสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำ จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสง
เป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไป จะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
5. ลำโพง(Speaker)
คือ อุปกรณ์ภายนอกอีกชิ้นหนึ่ง ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผล ซึ่งแสดงผลออกมาในรูปแบบของสัญญาณเสียง
คอมพิวเตอร์สามารถแทนชุดเครื่องเสียงแบบมินิคอมโปได้ สามารถใช้งานแทนเครื่องเล่นวิดีโอและทีวีได้ หลายคนคงเคยได้ยินเช่นนั้น
การจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนแหล่งบันเทิงเหล่านั้นได้ ต้องการฮาร์ดแวร์มัลติมีเดีย ได้แก่ ไดรฟ์ซีดีรอม ไดรฟ์ดีวีดี
การ์ดเสียง  การ์ด MPEG, การถอดรหัส AC- 3 (AC-3 Decoding) การ์ดประมวลผลดีวีดี และนอกเหนือจากนั้นสิ่งที่มาทำให้บรรยากาศของบันเทิงบนคอมพิวเตอร์เป็นจริง คือ ลำโพง
6. เครื่องสำรองไฟ (UPS)


UPS โดยทั่วไปก็จะทำหน้าที่ สำรองไฟไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับ หรือหากกระแสไฟฟ้าเกินหรือขาดไปมาก
กว่าค่าที่กำหนดไว้ UPS ก็จะตัดเข้าจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายใน UPS เองโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมี
UPS บางยี่ห้อที่เพิ่มส่วนของ ตัวควบคุมเสถียรภาพของไฟฟ้า (Stabilizer) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม
ให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกจาก UPS มีค่าอยู่ในช่วง 210- 230 โวลต์โดยตลอด อีกส่วนหนึ่งที่ UPS
สามารถป้องกันได้ ก็คือ ฟ้าผ่า เมื่อเกิดฟ้าผ่าไฟฟ้าสถิตย์จากฟ้าผ่าจะทำให้เกิดแรงเหนี่ยวนำภายในสายไฟฟ้า
แรงดันไฟฟ้าสูง บางทีอาจจะถึงหลายหมื่นโวลต์ และนั่นก็คืออันตรายมากที่สุดสำหรับ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรวมถึงคอมพิวเตอร์ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

วามหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
.....คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย

.....ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใช้ในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์


วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม มีความเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาระสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยี+สารสนเทศ

มาเรียนรู้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศกันเถอะ^---^
ความหมายของเทคโนโลยี        คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
        ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
        สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
        ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
        ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

in
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่
  • ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
  • ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
  • ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
  • ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
  • ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมา

คำว่า "เทคโนโลยี" "สนเทศ" และ "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายความว่าอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร

คำว่า "เทคโนโลยี" "สนเทศ" และ "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายความว่าอย่างไร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

            Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
           
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (
High Technology)
           
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น



 




ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ




เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information  Technology : IT)มีความหมายว่า เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล การพิมพ์ การพมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย
คำว่า "เทคโนโลยี" "สนเทศ" และ "เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความแตกต่างกันอย่างไร

ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ข้อหนึ่งก็คือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ต่างกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร ที่จริงแล้วสองสาขานี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นถือกำเนิดมาก่อนเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะเน้นด้านทฤษฏีเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ โครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การผลิตซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานชั้นสูงที่มีความซับซ้อนมาก จุดเด่นของวิทยาการคอมพิวเตอร์คือ เน้นศึกษาวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และศึกษาวิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้น ได้ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เองหลังจากอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ งานด้านการสื่อสาร งานในสายการผลิต งานด้านบริการ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ เน้นศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเคลื่อนที่ เช่น มือถือ และการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่เกี่ยวกับสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง


หลังจบสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถทำงานหรือศึกษาต่อระดับสูงได้ทั้งที่เป็นด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการ และเนื่องจากวิทยาการคอมพิวเตอร์เน้นการศึกษาด้านหลักการและวิธีการ ดังนั้นนักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงลึก ซึ่งทำให้สามารถทำงานในระดับสูงหรืองานด้านการวิจัยและพัฒนาได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานที่เกี่ยวกับการโปรแกรมและการออกแบบสร้างซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ได้ แต่ถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสนใจด้านการบริหารจัดการ ก็สามารถไปศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือการลงทุน โดยการเรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มีข้อได้เปรียบกว่าสาขาอื่นๆ ตรงที่นักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงเทคนิคที่แน่นพอ ซึ่งทำให้การทำงานด้านการบริหารจัดการก็จะง่ายและมีพื้นฐานที่ดีต่อการประกอบอาชีพด้านการจัดการที่เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมด้านการจัดการทำให้สามารถทำงานด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ ได้ นักศึกษาที่จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้ทั้งด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการดังนี้

1. งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญ

ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้ออกแบบและโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น

2. งานด้านการจัดการหรืองานให้คำปรึกษา

ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายคอมพิวเตอร์หรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ
ผู้ให้คำปรึกษาด้านระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านระบบคอมพิวเตอร์
เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง


จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว เราสามารถทำงานได้ในทุกองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศอยู่ ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกองค์กรไม่ว่าที่เป็นของรัฐหรือเอกชน จะมีระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการมาก อย่างไรก็ตามการทำงานด้านระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรมีสองประเภท คือ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลัก และ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่แกนหลัก

ธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลักได้แก่ ธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขาย ธุรกิจบริการด้านข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายมือถือ ธุรกิจให้บริการด้านพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่าธุรกิจคอนซัลแตนต์

ธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้เป็นแกนหลัก ได้แก่

ธุรกิจผลิตสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านรถยนต์ ด้านน้ำมัน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ด้านผลิตเครื่องจักรกล ด้านผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น
ธุรกิจเชิงบริการ ได้แก่ ด้านการธนาคาร ด้านบัญชี ด้านขนส่ง ด้านโรงภาพยนตร์ ด้านค้าปลีกหรือร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น
เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง


จบสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งด้านเทคนิค และด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจ ทางด้านเทคนิคหรืองานวิจัย ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยเรียนต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น ด้านระบบฐานข้อมูลในองค์กร ด้านเน็ตเวิร์ค ด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ด้านระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์ และด้านที่นำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ในงานสาขาอื่น เช่น ด้านสื่อสารมวลชน ด้านมัลติเมเดีย ด้านอะนิเมชั่น ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการแพทย์ ด้านสารสนเทศชีววิทยา ด้านการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ เป็นต้น

ส่วนด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือเอ็มบีเอ ด้านการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อบริหารงานบัญชี ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่องานบุคคล ด้านระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ด้านการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ เป็นต้น 
 
 
วิทยาการคอมพิวเตอร์
เน้นเรียนไปที่การเขียนโปรแกรมเสียเป็นส่วนใหญ่ จะเจอพวกรายวิชาที่เกี่ยวกับโปรแกรมมิ่ง เช่นพวก datastructure,ฐานข้อมูล,sql,vb,c,java,algorithm ประมาณนี้ มีเรียนพวก network นิดหน่อย

เทคโนโลยีสารสนเทศ
เน้นเรียนไปทางด้านพวกระบบสารสนเทศและการจัดการซะส่วนใหญ่ มีเรียนเขียนโปรแกรมตัวเดียว คือ จาวา นอกนั้นก็มีการจัดการและเครือข่าย ที่ผมเรียนก็มี ccna พวก config router ประมาณนี้

ถ้าจบปวส.มา แนะนำให้ต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ ไปเลยคับเพราะตามมหาลัยจะมีหลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง ส่วนวิทยาการคอม,วิศวคอม จะเป็นหลักสูตร 4 ปี คับ ไม่มีต่อเนื่อง