วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หน่วยความจำ (memory)

หน่วยความจำ (memory)
     หน่วยความจำ (memory) เป็นอุปกรณ์ภายในเครื่องที่มีความสำคัญอย่างมากที่ใช้สำหรับพักข้อมูลและคำสั่งต่างที่ใช้ในการประมวลผลให้กับซีพียู     สำหรับหน่วยความจำทั่วไปนั้จะแบ่งเป็น  2 ประเภทดังต่อไปนี้
หน่วยความจำหลัก
     เป็นหน่วยความจำประภทที่จะต้องทำงานร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลาถ้าหากไม่มีหน่วยความจำส่วนนี้ซีพียูจะไม่มีที่เก็บรวบรวมข้อมูลและคำสั่งต่างๆ โดยหน่วยความจำหลังยังแบ่งได้อีก 2ประเภท
     หน่วยความจำ Rom (read only memory)   เป็นหน่วยความจำ  ซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญได้อย่างถาวรแม้ไม่มีไฟหล่อเลี้ยงวงจร
     หน่วยความจำ Rom (random  Access  Memory)    คือหน่วยความจำหลักที่ทำงานร่วมกับซีพีย฿อยู่ตลอดเวลา  จึงมีความสำคัญต่อประสิทธิภาพของเครื่องมากเช่นกัน
     หน่วยความจำสำรอง
เป็นหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เก็บสสำรองข้อมูลต่างๆเอาไว้หน่วยความจำประเภทนี้มีหลายชนิดเช่น ฮาร์ดดิสก์   ฟล็อปปี้ดิสก์  ซีดีรอมแฟลช   เมโมรี  


แรม (RAM)
     แรมหรือหน่วยความจำหลักซึ่งมีการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม   แรมจะทำงานร่วมกับซีพียูโดยตรง และถูกใช้เป็นที่พักข้อมูลหรือคำสังจากการประมวลผลของตัวซีพียู จะเห็นได้ว่าคอวพิวเตอร์ประสิทธิภาพดีเพียงใดนอกจากความเร็วของซีพียูแล้วแรมมีส่วนสำคัญอย่างยิง


ประเถทของหน่วยความจำหลัก
      หน่วยความจำหลังสำหรับเก็บข้อมูล ได้มีการพัฒนาหลายรูปแบบแต่สามารถแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 ประเภทคือ
   * SRAM (static ram) ทำจากทราบซิสเตอร์กินไฟมากมีความเร็วสูงแต่มีราคาแพงมาก
   * DRAM (dynamic ram) เป็นหน่วยความจำที่กินไฟน้อย และก็มีราคาถูกกว่า SRAM

ชนิดของแรม
       หน่วยความจำหรือแรมที่ใช้งานกันในปัจจุบันก็คือ DRAM นั่นเอง แต่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและมีการผลิตขึ้นมาใช้งานหลายชนิดสำหรับแรมที่ยังคงมีใช้งานกันในปัจจุบันนี้ได้แก่
แรมชนิด SDRAM เป็นหน่วนความจำแบบแผง ที่มีสัญญาณ168 Pin ใช้เสียบกับซ้อกเก็ตแบบ การเรียกชื่อแรม 66, PC-100 และ PC-133หมายความจำแรมชนิดนี้มีความเร็ว 66,100 และ 133 mhz ตามที่ลำดับเนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่หันไปผลิตแรมชนิด DD SDRAM และ DDR2 ซึ่งมีความเร็วในการทำงานสูงและได้รับความนิยมในการใช้งานมากที่สุดแทน


ค่าหน่วยเวลาของแรม
     การทำงานแรมจะต้องส่งข้อมูลในตำแหน่งแถวไปก่อนแล้วจึงจะส่งข้อมูลในตำแหน่งหลักแรมที่มี cl สูงจะทำงานได้ช้ากกว่าแรมที่ทีค่า cl ต่ำ

การตรวจดูชนิดของแรม
      โดยทั่วไปบนแผงแรม มักจะมีสติกเกอร์ของผู้ผลิตแปะติดไว้ เพื่อบ่งบอกถึงยี่ห้อ ชนิด ขนาด ความเร็ว ค่า cl และค่าอื่นๆ เนื่องจากแรมที่มีความกว้างบัส 64 บิตหรือ 8 ไบต์ ไปต์จึงนำ 8 ไปหารจะได้ความเร็วแรมคือ 400 mhz

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ซีพียูสมองของคอมพิวเตอร์

                                              ซีพียูสมองของคอมพิวเตอร์
        ถ้าหากจะเปรียบไปแล้วซีพียูก็เหมือนกับเป็นมันสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเองเพราะการทำงานทั้งหมดได้แก่ การประมวลผลข้อมูลหรือตัวเลข ( บวก ลบ คูณ หาร ) และการทำคำสั่งต่างๆต้องอาศัยซีพียูทั้งสิ้นโดยมีหน่วยความจำหรือแรมของระบบเป็นที่พักที่พักข้อมูลสำหรับการคำนวณของซีพียู

   ความเร็วของซีพียู
ในอาดีตซีพียูมีความเร็วเพียงระดับ mhz แต่ในปัจจุบัยซีพียูมีความเร็วถึงระดับเกรือบ 4 ghz แล้ว จึงมีความเร็วสูงถึงเกลือบสี่พันล้านรอบต่อวินาที่

ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของชีพียู = ความเร็วบัส * ตัวคูณ
Noter
      ความสัมพันธ์ของหน่วยวัดความเร็วสัญญาณนาฬิกามีดังนี้
         1  Hz          =          1 รอบต่อวินาที่
         1  KHz       =          1000 รอบต่อวินาที่
         1  MHz      =          1000000 รอบต่อวินาที่
         1  GHz       =          1000000000 รอบต่อวินาที่

  ความเร็วบัส (Front side bus)
     ความเร็วระบบบัส FSB เป็นความเร็วของระบบ ที่ซีพียูใช้ในการติดต่อกับอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกเช่น แรม แต่เดิมความเร็วบัสจะมีเพียง 66 MHz เท่านั้นและได้มีการพัฒนาให้เร็วขึ้นเพื่อรองรับกับความเร็วของซีพียูที่เพิ่มขึ้นจนเป็น 100  133  166  200  233 และ 266 ในปัจจุบัน  
 
 หน่วยความจำแคช
     หน่วยความจำแคชที่อยู่ในตัวซีพียูจะทำให้ซีพียูทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น (แต่ก็จะใส่ไว้ได้มาก เพราะจะทำให้ซีพียูมีราคาแพง) โดยทั้วไปซีพียูจะมีหน่วยความจำแคชอยู่ 3 ระดับคือ
      - แคชระดับที่  1  (L3 cahe) แคชชนิดนี้จะจะฝังอยู่กับแกน หรือ Core ของตัวซีพียูเลย
      - แคชระดับที่  2  (L3 cahe) เป็นแคชที่อยู่บนตัวซีพียูเช่นเดียวกัน โดยมีขนาดใหญ่กว่าแคช L1
      - แคชระดับที่  3  (L3 cahe) เป็นแคชที่อยู่ภายนอกซีพียูซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่บนเมนบอร์บริเวณใกล้กับซีพียูมากที่สุด


                                                       รูปร่างลักษณะของซีพียู

ซีพียูแบบตลับ (cartrdge)
        ซีพียูชนิดนี้ตัวชีพียูจะบรรจุในตลับแบนยาวจึงทำให้มีขนาดใหญ่ และนำไปติดตั้งบนเมนบอร์ดด้วยการเสียบลงไปในสล็อต

ฃีพียูแบบตัวชิป (chip)
        เป็นซีพียูแบบปัจจุบันที่ยีงผลิตและจำหน่วยทั่วไปตามท้องตลาดโดยมีลักษณะเป็นตัวชิปสี่เหลี่ยมแบนๆ และมีขาสัญญาณอยู่ด้านล่างจำนวนมาก



วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบภายนอกคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบต่างๆ ของคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ
1. ส่วนประกอบภายนอกของคอมพิวเตอร์

จอภาพ (Monitor)
เคส (Case)
คีย์บอร์ด (Keyboard)
เมาส์ (Mouse)
ลำโพง(Speaker)

2. ส่วนประกอบภายในของคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit : CPU)

หน่วยความจำ (Ram)
เมนบอร์ด (Mainboard)
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk )
ซีดีรอมไดรว์ (CD-ROM Drive)
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (FDD)
การ์ดแสดงผล (VGA-Card)
การ์ดเสียง (Sound-Card)

3. อุปกรณ์ต่อพ่วง
เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)

เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
โมเด็ม (Modem)
อุปกรณ์เครือข่าย ( Lan Card )
ไดรว์พกพา ( Handdy Drive )
กล้องดิจิตอล ( Digital Camera )
 

ส่วนประกอบภายนอกและ การใช้งาน
1. จอภาพ (Monitor)
จอภาพ เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) ปกติแล้วจอภาพสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
    • จอภาพสี เดียว (Monochrome Monitor)
จอภาพ ที่รับสัญญาณจากการ์ดควบคุม ในลักษณะของสัญญาณดิจิตอล คือ 0 กับ 1 โดยการกวาดลำอิเล็กตรอนไปตกหน้าจอ
แล้วเกิดเป็นจุดเรืองแสง จะให้สัญญาณว่าจุดไหนสว่าง จุดไหนดับ จอภาพสีเดียวเวลานี้ไม่มีผู้นิยมแล้ว
    • จอภาพหลาย สี (Color Monitor)
จอภาพ ที่รับสัญญาณดิจิตอล 4 สัญญาณ คือ สัญญาณของสีแดง, เขียว, น้ำเงิน และสัญญาณความสว่าง ทำให้สามารถแสดงสีได้ 16 สี ถึง 32 ล้านสี
การทำ งานของจอภาพ เริ่มจากการกระตุ้นอุปกรณ์หลอดภาพให้ร้อน เกิดเป็นอิเล็กตรอนขึ้น และถูกยิงด้วยปืนอิเล็กตรอน
ให้ไปยังจุดที่ต้องการแสดงผลบนจอภาพ ซึ่งที่จอภาพจะมีการเคลือบสารฟอสฟอรัสเรืองแสง เมื่ออิเล็กตรอนเหล่านี้วิ่งไปชน
ก็จะทำให้เกิดแสงสว่าง ซึ่งจะประกอบกันเป็นรูปภาพ ในการยิงลำแสดงอิเล็กตรอน มันจะเคลื่อนที่ไปตามแนวขวาง
จากนั้นเมื่อกวาดภาพ มาถึงสุดขอบด้านหนึ่ง ปืนลำแสงก็จะหยุดยิง และ ปรับปืนอิเล็กตรอนลงมา 1 line และ
เคลื่อนที่ไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง และทำการยิ่งใหม่ ลักษณะการยิงจึงเป็นแบบฟันเลื่อย
2. เคส (Case)
เคสของ คอมพิวเตอร์ถึงแม้จะมีคุณสมบัติเป็นเพียงเปลือกห่อหุ้มภายนอก
แต่ก็มีคุณสมบัติหลายอย่างไปตามชนิดของเคส เช่น เคสแบบ ATX จะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดีกว่า
เคสแบบ AT และมีคุณสมบัติในการสนับสนุนระบบเพาเวอร์ชัตดาวน์ ของระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ๆ
ซึ่งเคสแบบ AT นั้นไม่มี   เคสจะมีสิ่งหนึ่งที่ติดตั้งควบคู่มากับเคสและก็มีความสำคัญพอควร
นั้นคือ เพาเวอร์ซัพพลาย ซึ่งเป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
ในการเลือกเคส ต้องคำนึงถึง ตัวเพาเวอร์ซัพพลายว่ามีกำลังในการจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์เพียงพอหรือไม่
และต้องเลือกใช้กับเมนบอร์ดให้เข้ากันด้วยคือเมนบอร์ดแบบไหนก็เคสแบบเดียว กัน
3. คีย์บอร์ด (Keyboard)
คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลเบื้องต้น มีลักษณะการทำงานคล้ายคีย์บอร์ดของเครื่องพิมพ์ดีด
แต่ได้เพิ่มปุ่มควบคุมเฉพาะสำหรับคอมพิวเตอร์ โดยปกติจะมี 101 คีย์ ซึ่งบางรุ่นอาจจะมีน้อย
หรือมากกว่าก็ได้ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆ ได้ดังนี้
    • 101-key Enhanced keyboard
    • 104-key Windows keyboard
    • 82-key Apple standard keyboard
    • 108-key Apple Extended keyboard
    • Notebook & Palm keyboard
    • Typing keys กลุ่มปุ่มพิมพ์อักขระ
    • Numeric keypad กลุ่มปุ่มตัวเลข และเครื่องหมายคำนวณ
    • Function keys กลุ่มปุ่มฟังก์ชัน F1 - F12
    • Control keys กลุ่มปุ่มควบคุมต่างๆ เช่น ลูกศร, Ctrl, Alt เป็นต้น ปุ่มฟังก์ชัน และปุ่มควบคุม ทางบริษัท IBM
      (ค.ศ. 1986) ได้พัฒนาเพิ่มเข้ามาในคีย์บอร์ด เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากขึ้น
  • ปุ่มต่างๆ บนคีย์บอร์ดมีจำนวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ส่วนหลัก คือ
  • การทำงานของ คีย์บอร์ด
การทำงาน ของคีย์บอร์ด จะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่ม ให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า
เพื่อส่งให้คอมพิวเตอร์ โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร
การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วย Microprocessor ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ด
และสัญญาณต่างๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อ ซึ่งแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
    • 5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่ ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก
    • 6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก ปัจจุบันพบได้อย่างแพร่หลาย
    • 4-pin USB (Universal Serial Bus) connector เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่
    • internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer
    คีย์บอร์ดในอนาคต
ปัจจุบัน คีย์บอร์ด มีการพัฒนาไปตามยุคสมัย โดยเฉพาะยุคโลกไร้พรมแดน ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์-เน็ต
บริษัทผู้ผลิตหลายบริษัท ได้ทำการผลิตคีย์บอร์ด ที่มีปุ่มฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบอีเมล์ และการเข้าสู่
อินเทอร์เน็ต ตลอดจนควบคุมระบบมัลติมีเดียต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้
4. เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์ รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด ได้แก่ อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง ที่เรียกว่า เมาส์ (Mouse) หรือ
"หนูอิเล็กทรอนิกส์" เนื่องจากเป็น อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายหนู มีสายต่ออยู่ที่ปลายลักษณะเดียวกับหางหนู
เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)"
ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด
    พัฒนาการของเมาส์
เมาส์ พัฒนาขึ้นมาครั้งแรก ในศูนย์ค้นคว้าที่เมืองปาโลอัลโต้ ของบริษัทซีร็อก (Xerox Corporation's Palo
Alto Research Center) เมาส์มีหลายรูปร่าง หลายลักษณะ โดยเฉพาะเมาส์รุ่นใหม่ๆ จะออกแบบมาอย่างสวยงาม
โดยปกติปุ่มของเมาส์ จะมี 2 ปุ่มสำหรับเมาส์ของเครื่องพีซี และปุ่มเดียวสำหรับเครื่อง Macintosh
ปัจจุบันมีการพัฒนาให้เมาส์ใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยเพิ่มปุ่มเลื่อนตรงกลาง มีลักษณะคล้ายล้อ ดังรูป เรียกว่า
Intelli Mouse ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการเลื่อนจอภาพเพื่อดูข้อมูล นอกจากนี้ยังมีเมาส์ที่ทำงานด้วยสัญญาณแสง
ที่เรียกว่า Infrared หรือ Wireless Mouse
เมาส์ ทำงานอย่างไร ?
เมาส์ ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ
และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer"
(มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป
กลไก การทำงานของเมาส์ มี 3 ประเภท คือ Mechanical, Opto-Mechanical, Optical
    • Mechanical
เป็น กลไกการทำงานที่อาศัยลูกบอลยาง ที่สามารถกลิ้งไปมาได้ เมื่อทำการเคลื่อนย้ายตัวเมาส์ ซึ่งลูกบอลจะกดแนบอยู่กับลูกกลิ้ง
โดยแกนของลูกกลิ้ง จะต่อกับจานแปลรหัส (Encoder) บนจานจะมีหน้าสัมผัสเป็นจุดๆ เมื่อจุดสัมผัสเลื่อนมาตรงแกนสัมผัส
ก็จะสร้างสัญญาณ บอกไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมควบคุมเมาส์ จะทำหน้าที่ แปลเป็นคำสั่งเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ บนจอภาพต่อไป
    • Opto-Mechanical
กลไกการ ทำงานคล้าย Mechanical แต่ตัวรับการเคลื่อนที่ของจาน Encoder จะมี LED อยู่อีกด้านหนึ่งของจานไว้คอยกำเนิดแสง
และอีกด้านหนึ่ง จะมี Opto-Transistor (ทรานซิสเตอร์ไวแสง) ไว้คอยตรวจจับแสงแทนการใช้การสัมผัส
    • Optical
กลไก การทำงานที่อาศัยแผ่นรองชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และมีตารางเส้นตามแกน X , Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน
อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำ
และสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำ จะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสง
เป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไป จะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่
5. ลำโพง(Speaker)
คือ อุปกรณ์ภายนอกอีกชิ้นหนึ่ง ที่เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผล ซึ่งแสดงผลออกมาในรูปแบบของสัญญาณเสียง
คอมพิวเตอร์สามารถแทนชุดเครื่องเสียงแบบมินิคอมโปได้ สามารถใช้งานแทนเครื่องเล่นวิดีโอและทีวีได้ หลายคนคงเคยได้ยินเช่นนั้น
การจะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานแทนแหล่งบันเทิงเหล่านั้นได้ ต้องการฮาร์ดแวร์มัลติมีเดีย ได้แก่ ไดรฟ์ซีดีรอม ไดรฟ์ดีวีดี
การ์ดเสียง  การ์ด MPEG, การถอดรหัส AC- 3 (AC-3 Decoding) การ์ดประมวลผลดีวีดี และนอกเหนือจากนั้นสิ่งที่มาทำให้บรรยากาศของบันเทิงบนคอมพิวเตอร์เป็นจริง คือ ลำโพง
6. เครื่องสำรองไฟ (UPS)


UPS โดยทั่วไปก็จะทำหน้าที่ สำรองไฟไว้ใช้ในกรณีไฟฟ้าดับ หรือหากกระแสไฟฟ้าเกินหรือขาดไปมาก
กว่าค่าที่กำหนดไว้ UPS ก็จะตัดเข้าจ่ายไฟจากแบตเตอรี่ภายใน UPS เองโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมี
UPS บางยี่ห้อที่เพิ่มส่วนของ ตัวควบคุมเสถียรภาพของไฟฟ้า (Stabilizer) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุม
ให้กระแสไฟฟ้าที่จ่ายออกจาก UPS มีค่าอยู่ในช่วง 210- 230 โวลต์โดยตลอด อีกส่วนหนึ่งที่ UPS
สามารถป้องกันได้ ก็คือ ฟ้าผ่า เมื่อเกิดฟ้าผ่าไฟฟ้าสถิตย์จากฟ้าผ่าจะทำให้เกิดแรงเหนี่ยวนำภายในสายไฟฟ้า
แรงดันไฟฟ้าสูง บางทีอาจจะถึงหลายหมื่นโวลต์ และนั่นก็คืออันตรายมากที่สุดสำหรับ เครื่องใช้ไฟฟ้า และรวมถึงคอมพิวเตอร์ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

วามหมายและความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
.....คอมพิวเตอร์ คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย

.....ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใช้ในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์


วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคม มีความเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

สาระสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยี+สารสนเทศ

มาเรียนรู้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีสารสนเทศกันเถอะ^---^
ความหมายของเทคโนโลยี        คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่มีระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมใช้ควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" ซึ่งพจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
        ผดุงยศ ดวงมาลา (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยีว่าปัจจุบันมีความหมายกว้างกว่ารากศัพท์เดิม คือ หมายถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่มนุษย์เอง ทั้งในแง่ความเป็นอยู่และการควบคุมสิ่งแวดล้อม
        สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. 81) อธิบายว่า เทคโนโลยี คือ การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาผสมผสานประยุกต์ เพื่อสนองเป้าหมายเฉพาะตามความต้องการของมนุษย์ด้วยการนำทรัพยากรต่าง ๆ มาใช้ในการผลิตและจำหน่ายให้ต่อเนื่องตลอดทั้งกระบวนการ เทคโนโลยีจึงมักจะมีคุณประโยชน์และเหมาะสมเฉพาะเวลาและสถานที่ และหากเทคโนโลยีนั้นสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีนั้นจะเกื้อกูลเป็นประโยชน์ทั้งต่อบุคคลและส่วนรวม หากไม่สอดคล้องเทคโนโลยี นั้น ๆ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมามหาศาล
        ธรรมนูญ โรจนะบุรานนท์ (2531 : 170) กล่าวว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้วิชาการรวมกับความรู้วิธีการ และความชำนาญที่สามารถนำไปปฏิบัติภารกิจให้มีประสิทธิภาพสูง โดยปกติเทคโนโลยีนั้นมีความรู้วิทยาศาสตร์รวมอยู่ด้วย นั้นคือวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ เทคโนโลยีเป็นการนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติ จึงมักนิยมใช้สองคำด้วยกัน คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเน้นให้เข้าใจว่า ทั้งสองอย่างนี้ต้องควบคู่กันไปจึงจะมีประสิทธิภาพสูง
        ส่วน ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์ (2534 : 5) ได้ให้ความหมายสั้น ๆ ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการประกอบวัตถุเป็นอุตสาหกรรม หรือวิชาช่างอุตสาหกรรม หรือการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ในทางปฏิบัติ
จากการที่มีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย สรุปได้ว่า เทคโนโลยี หมายถึง วิชาที่นำเอาวิทยาการทางวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ตามความต้องการของมนุษย์ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีเป็นภาษาง่าย ๆ ว่า หมายถึง การรู้จักนำมาทำให้เป็นประโยชน์นั่นเอง (เย็นใจ เลาหวณิช. 2530 : 67)

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

in
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว ข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่
  • ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
  • ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
  • ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง
  • ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
  • ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมา

คำว่า "เทคโนโลยี" "สนเทศ" และ "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายความว่าอย่างไร มีความแตกต่างกันอย่างไร

คำว่า "เทคโนโลยี" "สนเทศ" และ "เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายความว่าอย่างไร
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

            Information Technology หรือ IT คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในระบบสารสนเทศ ตั้งแต่กระบวนการจัดเก็บ ประมวลผล และการเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อช่วยให้ได้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ โดยเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วย
           
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (
High Technology)
           
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น



 




ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ


สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 
            กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ




เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information  Technology : IT)มีความหมายว่า เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม  การจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล การพิมพ์ การพมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูลด้วย
คำว่า "เทคโนโลยี" "สนเทศ" และ "เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความแตกต่างกันอย่างไร

ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ


คำถามที่ถูกถามบ่อยๆ ข้อหนึ่งก็คือ วิทยาการคอมพิวเตอร์ต่างกับเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไร ที่จริงแล้วสองสาขานี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก โดยวิทยาการคอมพิวเตอร์นั้นถือกำเนิดมาก่อนเทคโนโลยีสารสนเทศ และจะเน้นด้านทฤษฏีเป็นหลัก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับ โครงสร้างของเครื่องคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การผลิตซอฟต์แวร์ที่มีขนาดใหญ่ให้มีประสิทธิภาพ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานชั้นสูงที่มีความซับซ้อนมาก จุดเด่นของวิทยาการคอมพิวเตอร์คือ เน้นศึกษาวิธีการทำให้คอมพิวเตอร์มีสมรรถนะที่สูงขึ้น และศึกษาวิธีการผลิตซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพเพื่อใช้งานคอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด

สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือไอทีนั้น ได้ถูกกล่าวถึงกันมากในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เองหลังจากอินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลาย โดยเทคโนโลยีสารสนเทศจะเน้นการประยุกต์ใช้งานคอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานด้านธุรกิจ งานด้านการสื่อสาร งานในสายการผลิต งานด้านบริการ เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศนั้นค่อนข้างเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา จุดเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศคือ เน้นศึกษาวิธีการนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารหรือสารสนเทศ ซึ่งรวมไปถึงเทคโนโลยีระบบเคลื่อนที่ เช่น มือถือ และการจัดการธุรกิจและการลงทุนที่เกี่ยวกับสารสนเทศ

เรียนจบแล้วสามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง


หลังจบสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถทำงานหรือศึกษาต่อระดับสูงได้ทั้งที่เป็นด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการ และเนื่องจากวิทยาการคอมพิวเตอร์เน้นการศึกษาด้านหลักการและวิธีการ ดังนั้นนักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงลึก ซึ่งทำให้สามารถทำงานในระดับสูงหรืองานด้านการวิจัยและพัฒนาได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำงานที่เกี่ยวกับการโปรแกรมและการออกแบบสร้างซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ได้ แต่ถ้าผู้สำเร็จการศึกษาสนใจด้านการบริหารจัดการ ก็สามารถไปศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือการลงทุน โดยการเรียนด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มีข้อได้เปรียบกว่าสาขาอื่นๆ ตรงที่นักศึกษาจะมีความรู้ในเชิงเทคนิคที่แน่นพอ ซึ่งทำให้การทำงานด้านการบริหารจัดการก็จะง่ายและมีพื้นฐานที่ดีต่อการประกอบอาชีพด้านการจัดการที่เกี่ยวกับงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนเพิ่มเติมด้านการจัดการทำให้สามารถทำงานด้านการให้คำแนะนำแก่บริษัทต่างๆ ได้ นักศึกษาที่จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้ทั้งด้านเทคนิคและด้านการบริหารจัดการดังนี้

1. งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญ

ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์ในบริษัทหรือองค์กรต่างๆ
ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
ผู้เขียนโปรแกรมประยุกต์หรือโปรแกรมระบบงาน หรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์
ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูลซึ่งเป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานในทุกองค์กร
ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ผู้ออกแบบและโปรแกรมคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ
ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น

2. งานด้านการจัดการหรืองานให้คำปรึกษา

ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
ผู้จัดการแผนก ส่วนหรือฝ่ายคอมพิวเตอร์หรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ
ผู้ให้คำปรึกษาด้านระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศแก่องค์กรต่างๆ
ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านระบบคอมพิวเตอร์
เรียนจบแล้วสามารถทำงานที่ไหนได้บ้าง


จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว เราสามารถทำงานได้ในทุกองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์หรือระบบสารสนเทศอยู่ ซึ่งในปัจจุบันเกือบทุกองค์กรไม่ว่าที่เป็นของรัฐหรือเอกชน จะมีระบบคอมพิวเตอร์ใช้งานอยู่แล้ว จึงทำให้ผู้จบด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นที่ต้องการมาก อย่างไรก็ตามการทำงานด้านระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กรมีสองประเภท คือ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลัก และ การทำงานในองค์กรหรือธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่แกนหลัก

ธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นแกนหลักได้แก่ ธุรกิจผลิตซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขาย ธุรกิจบริการด้านข้อมูลข่าวสาร ธุรกิจด้านการให้บริการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบอินเตอร์เน็ตหรือระบบเครือข่ายมือถือ ธุรกิจให้บริการด้านพาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์หรืออีคอมเมิร์ซ ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือที่เรียกว่าธุรกิจคอนซัลแตนต์

ธุรกิจที่ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ได้เป็นแกนหลัก ได้แก่

ธุรกิจผลิตสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านรถยนต์ ด้านน้ำมัน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ด้านผลิตเครื่องจักรกล ด้านผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น
ธุรกิจเชิงบริการ ได้แก่ ด้านการธนาคาร ด้านบัญชี ด้านขนส่ง ด้านโรงภาพยนตร์ ด้านค้าปลีกหรือร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น
เรียนต่อด้านไหนได้บ้าง


จบสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์แล้ว สามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งด้านเทคนิค และด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจ ทางด้านเทคนิคหรืองานวิจัย ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถไปศึกษาต่อได้ทั้งในและต่างประเทศ โดยเรียนต่อในสาขาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง เช่น ด้านระบบฐานข้อมูลในองค์กร ด้านเน็ตเวิร์ค ด้านความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ด้านระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะหรือปัญญาประดิษฐ์ และด้านที่นำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ในงานสาขาอื่น เช่น ด้านสื่อสารมวลชน ด้านมัลติเมเดีย ด้านอะนิเมชั่น ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการแพทย์ ด้านสารสนเทศชีววิทยา ด้านการสร้างแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ทางเคมีและฟิสิกส์ เป็นต้น

ส่วนด้านการบริหารจัดการหรือด้านธุรกิจนั้น ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถศึกษาต่อด้านการบริหารจัดการหรือเอ็มบีเอ ด้านการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ ด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการลงทุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่อบริหารงานบัญชี ด้านระบบคอมพิวเตอร์เพื่องานบุคคล ด้านระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร ด้านการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจ เป็นต้น 
 
 
วิทยาการคอมพิวเตอร์
เน้นเรียนไปที่การเขียนโปรแกรมเสียเป็นส่วนใหญ่ จะเจอพวกรายวิชาที่เกี่ยวกับโปรแกรมมิ่ง เช่นพวก datastructure,ฐานข้อมูล,sql,vb,c,java,algorithm ประมาณนี้ มีเรียนพวก network นิดหน่อย

เทคโนโลยีสารสนเทศ
เน้นเรียนไปทางด้านพวกระบบสารสนเทศและการจัดการซะส่วนใหญ่ มีเรียนเขียนโปรแกรมตัวเดียว คือ จาวา นอกนั้นก็มีการจัดการและเครือข่าย ที่ผมเรียนก็มี ccna พวก config router ประมาณนี้

ถ้าจบปวส.มา แนะนำให้ต่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ ไปเลยคับเพราะตามมหาลัยจะมีหลักสูตร 2 ปี ต่อเนื่อง ส่วนวิทยาการคอม,วิศวคอม จะเป็นหลักสูตร 4 ปี คับ ไม่มีต่อเนื่อง

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ
คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
ดังต่อไปนี้คือ
ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีสำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมี
1.
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ใช้
ตามที่ผู้ใช้ต้องการอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่
สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้
คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์
ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์
สำหรับการจัดการระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศ(Hardware) และอุปกรณ์(Software)
สำหรับกระบวนการการจัดทำสารสนเทศ เพื่อให้ได้สารสนเทศตามต้องการอย่างรวดเร็ว
ถูกต้อง แม่นยำ และมีคุณภาพ ประกอบด้วยกรรมวิธี
ข้อมูล และการแสดงผลข้อมูล โดยที่กรรมวิธีทั้ง
ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์การรับข้อมูลเข้า และอุปกรณ์แสดงผลข้อมูล ดังแผนภาพต่อไปนี้คือ
3 ประการ คือ การนำเข้าข้อมูล การประมวลผล3 ประการนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์
รูปที่
1.1 แผนภาพแสดงกระบวนการจัดการระบบสารสนเทศ

2.
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
ส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือ
สารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่ง
รูปแบบของข้อมูลที่รับ
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง
(Voice)
การนำเข้าข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การแสดงผลข้อมูล
องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบ
โทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์
, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง,
วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน
แหล่งของข้อความ
ข้อความ
3 ส่วน ได้แก่ ต้น(Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับ(Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
รูปที่
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศ
1.2 แผนภาพแสดงกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมแบ่งออกได้ 6 ประเภท (Williams. 1982 : 348) ดังนี้
1.
แสดงผลข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลาง (Processor) ประกอบด้วย หน่วยความจำ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าและ
2.
เมนเฟรม
คอมพิวเตอร์ประเภทต่าง ๆ เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์
3.
เทคโนโลยีสำหรับบันทึกข้อมูลปริมาณมาก
4.
และกรรมวิธีการเผยแพร่สารสนเทศ
เทคโนโลยีและอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารข้อมูล การสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
5.
เทคโนโลยีสำหรับบันทึกข้อมูล แสดงผลข้อมูล และเวลาที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล
6.
นอกจากนี้
งาน
โปรแกรมซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมคำสั่งงานครรชิต มาลัยวงศ์ (2533 : 23) ได้จำแนกเทคโนโลยีสารสนเทศตามลักษณะการใช้โดยแบ่งออกเป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ คือ
1.
วีดีทัศน์
เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่าย, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2.
แม่เหล็ก
เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จาน, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
ต้นแหล่งของข้อความ สื่อกลาง จุดรับข้อความ
เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับงานสารสนเทศ
3.
ซอฟต์แวร์
เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และ
4.
เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5.
เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6.
โทรทัศน์
เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล
เพื่อให้เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องให้ความสำคัญ
กับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในทางปฏิบัติ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์
เต็มที่นั้นทำได้ยาก เพราะต้องมีบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีเป็น
ผู้ปฏิบัติงาน โดยมีผู้บริหารที่มีความเข้าใจและสนับสนุนอย่างเต็มที่ จึงจะสามารถผลิตสารสนเทศที่ให้
เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้และการจัดทำระบบสารสนเทศนั้นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการนาน ทำ
ให้จำเป็นต้องมีการบริหารเข้ามาช่วยให้งานบรรลุตามเป้าหมาย
ความสำคัญของการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
1.
กิจการ
ของกิจการ
สารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อความสำเร็จของหลายประเภท จึงจำเป็นต้องมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการจัดการทรัพยากรอื่น ๆ
2.
จึงต้องมีวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการจัดทำระบบสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
เทคโนโลยีสารสนเทศ มีผลกระทบต่อความสำเร็จของการดำเนินงานในองค์การอย่างมาก

3.
  ผู้บริหารควรมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้มีส่วนร่วมและพร้อมทั้งการกำหนดมาตรฐาน รหัส
5.
จำเป็นต้องมีการศึกษานโยบาย วัตถุประสงค์ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานและองค์การ
การตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยี
  ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ถือเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งขององค์การ ซึ่งมีผลกระทบ
6.
ต่อการจัดองค์การ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกหลายทางเพื่อช่วยในเหล่านั้น

4.
สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
แบบฟอร์มของหน่วยงาน

เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขัน

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ